ดู๋ สัญญา เจาะใจ ชีวามิตร แนะคุณภาพชีวิตระยะสุดท้ายและการตายดี

69
ดู๋ สัญญา เจาะใจ ชีวามิตร แนะคุณภาพชีวิตระยะสุดท้ายและการตายดี

ดู๋ สัญญา เจาะใจ ชีวามิตร แนะคุณภาพชีวิตระยะสุดท้ายและการตายดี

ช่วงนี้หลายคนคงน่าจะเคยได้ชมคลิปหนึ่งที่กำลังโด่งดังในโลกโซเชียล ซึ่งเรื่องราวพูดถึงความโชคดีที่ได้เลือกของชีวิตผู้ป่วยในระยะสุดท้าย  รายการ “เจาะใจ” เห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมากที่เราต้องเตรียมตัวกันตั้งแต่วันนี้ เพราะเรากำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และเรื่องแบบนี้ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับเราทุกคนไม่วันใดก็วันหนึ่ง สัปดาห์นี้รายการเจาะใจ จึงร่วมกับ อลิอันซ์ อยุธยา และชีวามิตร จัดทำตอนพิเศษ โดยพิธีกร “ดู๋-สัญญา คุณากร” จะพาไปพูดคุยกับ “ศาสตราจารย์พิเศษกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์” ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานคณะกรรมการ บริษัท ชีวามิตร วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด และ “รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์” รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดู๋ สัญญา เจาะใจ ชีวามิตร แนะคุณภาพชีวิตระยะสุดท้ายและการตายดี

ซึ่ง ชีวามิตร ป็นรัฐวิสาหกิจเพื่อสังคม ก่อตั้งขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการตายดี ให้ทุกคนเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต และเป็นตัวกลางที่ช่วยเชื่อมโยงกับภาครัฐ เพื่อเกิดศูนย์ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย หรือ Hospice จัดเวิร์กช็อปให้ความรู้เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตระยะสุดท้ายและการตายดีให้กับผู้สนใจ ผู้ดูแล หรือองค์กรต่างๆ ซึ่งความหมายของการตายดี ศาสตราจารย์พิเศษกิติพงศ์ อธิบายให้ฟังว่า “ ตายดี คือ ผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องไม่ทุกข์ทรมานโดยไม่จำเป็น และต้องบรรลุความต้องการของผู้ป่วยทางด้านจิตวิญญาณ ที่หมายถึงได้มีการจัดการเรื่องที่ค้างคาและจากไปอย่างสงบ  สิ่งสำคัญคือความเข้าใจของทุกฝ่าย และรัฐควรมีศูนย์ดูแลที่คอยให้คำแนะนำกับประชาชน ส่วนตัวเชื่อว่าควรนำผู้ป่วยระยะสุดท้ายกลับไปรักษาที่บ้าน และให้เขาจากไปที่บ้าน โดยมีแพทย์คอยดูแลอาการเป็นระยะ มีเครื่องมือรักษาตามอาการ มีลูกหลานอยู่ห้อมล้อม คุณภาพชีวิตของคนไข้จะดีกว่าอยู่โรงพยาบาล และชีวามิตรก็จะให้ความรู้ความเข้าใจคนเรื่องคุณภาพชีวิตที่ดีก่อนตายนี้ต่อไป” พร้อมเล่าประสบการณ์ส่วนตัวเกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนเสียชีวิตของภรรยาและตัวเองให้ ดู๋ สัญญา ฟังอีกด้วย

ดู๋ สัญญา เจาะใจ ชีวามิตร แนะคุณภาพชีวิตระยะสุดท้ายและการตายดี

 ด้านรศ.นพ.ฉันชาย กล่าวแนะนำเพิ่มเติมว่า “เรื่องความตายเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ต้องเกิดกับทุกคน เราก็ต้องเตรียมความพร้อมของตัวเอง ทั้งในแง่กฏหมายและโครงสร้างในการรองรับ  หากจะขับเคลื่อนเรื่องนี้ต้องมี 3 ปัจจัยรองรับ คือ ต้องมีความเข้าใจในหมู่ประชาชน NGO แพทย์หรือนักวิชาการต้องมีข้อมูลสนับสนุนและต้องรู้ให้จริง และ กฎหมายต้องขยับ ซึ่งปัจจุบันทั้งหมดนี้ยังไม่ค่อยไปด้วยกันเท่าไรนัก เราก็ต้องช่วยกัน”

ติดตามเรื่องราวได้อันน่าสนใจนี้ได้ในรายการ“เจาะใจ” วันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2562 เวลา 21.00 ทางช่อง 9 MCOT HD

Loading...