โอบ โอบนิธิ งานรุ่ง เรียนเลิศ ต้นแบบวัยรุ่นยุคใหม่

674
โอบ โอบนิธิ วิวรรธนวรางค์

โอบ โอบนิธิ งานรุ่ง เรียนเลิศ ต้นแบบวัยรุ่นยุคใหม่

กำลังมาแรง !!! สำหรับหนุ่มฮอตหน้าตาจิ้มลิ้มอย่าง โอบ โอบนิธิ วิวรรธนวรางค์ หรือ “ไอ่” นักแสดงซีรี่ย์สุดแนวอย่าง “I hate you I love you” ที่ทิ้งความสงสัยให้กับคนดูได้สืบหาความจริงไปพร้อมกัน ไม่ว่าใครที่เจอเหล่านักแสดงก็จะถามเป็นเสียงเดียวกันว่า “ใครฆ่านานะ” แต่ถึงแม้งานจะรัดตัวแค่ไหนโอบก็ไม่ทิ้งการเรียน เพราะมีดีกรีถึงลูกแม่โดม คณะเศรษฐศาสตร์และล่าสุดถูกคว้าตัวมาเผยเคล็ดลับการแบ่งเวลาเรียนและการทำงานให้ประสบความสำเร็จ พร้อมแชร์ประสบการณ์การเรียนในมหาวิทยาลัยในงาน “Key to success กุญแจแห่งความสำเร็จ” ของโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษเอ็นคอนเส็ปท์ โอบบอกว่า “เพราะเคยผิดหวังมา เลยต้องพยายามทำทุกอย่างให้เต็มที่”ซึ่งจุดเปลี่ยนของการคิดเรื่องนี้อยู่ที่การสอบเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมไม่ติด ซึ่งคุณแม่คาดหวังไว้มาก ทุ่มเททุกอย่างเกี่ยวกับเรื่องเรียน จึงเป็นจุดเปลี่ยนที่อยากทำให้แม่ภูมิใจ และเราก็อยากทำให้อนาคตเราออกมาให้ดีที่สุด

โอบ โอบนิธิ วิวรรธนวรางค์โอบยังบอกอีกว่า “การแบ่งเวลาเรียนกับทำงานเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับทุกคน เพราะถ้าแบ่งเวลาไม่เหมาะสมอาจจะทำให้ล้มเหลวทั้งสองอย่าง สำหรับโอบขั้นแรกคือ จะพยายามรับงานให้ไม่ตรงกับวิชาเรียนมากที่สุด หรือถ้าต้องมีถ่ายงานช่วงบ่าย ตอนเช้าก็จะไปเรียนก่อนหากวันไหนที่จำเป็นต้องขาดเรียนจริง ๆ ก็จะใช้คลิปเสียงที่เพื่อบันทึกไว้ให้มาฟัง และเรียนซ้ำ ซึ่งผมคิดว่าการเรียนอยู่มหาวิทยาลัยเป็นการช่วยเหลือตนเองอย่างแท้จริง เช่น อยู่ในห้องสอบ ไม่มีใครสามารถช่วยเราได้ นอกจากตัวเราเอง ถึงแม้เพื่อนจะอัดเสียงมาให้ ยืมเลคเชอร์เพื่อนมาจดในช่วงที่ต้องหยุดเรียนไปทำงาน และถ้าหากเราไม่มาอ่านทบทวนเรื่องที่เรียนมา ตอนสอบก็มีสิทธิ์ที่จะจำเนื้อหาที่เรียนมาไม่ได้ และก็จะไม่สามารถทำข้อสอบได้ตามไปด้วย

โอบ โอบนิธิ วิวรรธนวรางค์ในเรื่องของการอ่านหนังสือนั้นผมจะอ่านช่วงกลางคืน แต่จะไม่เกินเที่ยงคืน เพราะถ้าเกินเที่ยงคืน สมองก็เริ่มจะไม่ไหวแล้ว แต่ถ้าช่วงสอบต้องอ่านหนังสือเยอะผมจะไม่โหมอ่านจนดึก แต่จะตื่นมาอ่านตอนช่วงเช้าแทน สมองจะปลอดโปร่งด้วย ซึ่งวิธีนี้ก็เป็นสไตล์การอ่านของแต่ละคน แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือ การตั้งเป้าหมายของตัวเอง เมื่อเรามีเป้าหมายจะทำให้เราประสบความสำเร็จง่ายขึ้น ทั้งเรื่องการเรียน การทำงาน แม้กระทั่งการอ่านหนังสือ เช่น เมื่อเรารู้ว่าอยากเรียนอะไร จะต้องหาข้อมูลและวางแผนการอ่านหนังสือว่าควรอ่านวิชาไหนบ้าง อย่างผมอยากเรียนเศรษฐศาสตร์ จะใช้วิชาคณิตศาสตร์กับภาษาอังกฤษ ซึ่งทุกคณะส่วนใหญ่จะต้องใช้อยู่แล้ว ยิ่งวิชาภาษาอังกฤษนั้น ผมว่าความรู้ที่ได้จากการอ่านไม่ได้นำมาใช้แค่ในการสอบอย่างเดียว ในการทำงานภาษาอังกฤษก็เป็นส่วนที่ผลักดันให้เราสามารถเข้าไปทำงานที่บริษัทที่เราต้องการ หรือใช้เพื่อการศึกษาในอนาคตอีกด้วย

โอบ โอบนิธิ วิวรรธนวรางค์นางสาวอริสรา ธนาปกิจ หรือครูพี่แนน ผู้อำนวยการโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษเอ็นคอนเส็ปท์ ยังกล่าวถึงเคล็ดลับฟิตสมองให้มีความจำที่ดีและพร้อมที่จะรับสิ่งใหม่ๆ ดังนี้

1.สร้าง Memory Palace : เทคนิคการใช้วิธีการจำที่สอดคล้องกับรูปแบบที่สมองออกแบบมากที่สุด ใช้หลักการง่ายๆว่า มนุษย์จะสามารถจดจำสถานที่ได้ดีที่สุด ดังนั้นถ้าเราจะเชื่อมโยงสิ่งที่เราอยากจะจดจำเข้ากับสถานที่ต่าง ๆ ที่เราคุ้นเคย เราก็จะสามารถจดจำสิ่งเหล่านั้นได้ง่ายกว่าเดิมมากๆ

2.เรียนรู้ภาษาใหม่ๆ : มีผลงานวิจัยจากทีมวิจัยในแคนาดา ที่ได้รับการตีพิมพ์ไว้ใน Neurology Journal ระบุว่าความสามารถในการพูดได้สองภาษา จะช่วยทำให้กระบวนการก่อตัวของอาการโรคอัลไซเมอร์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่นั้นช้าลงไปได้มากถึงห้าปี นอกจากนั้นการเล่นเกม ไขปริศนา คิดเลขก็สามารถกระตุ้นสมองได้ด้วย 3.หาจุดกลมกล่อม (Sweet Spot) : โดยทั่วไปแล้วกระบวนการเรียนรู้จะแบ่งเป็นช่วงต่าง ๆ ได้

3 ช่วง คือ จุดสบายใจ (Comfort Zone) คือ ความรู้สึกสบายๆ ไม่ต้องใช้ความพยายามมากนัก จุดคับขัน (Survival Zone) คือ สิ่งที่ยากมาก ๆ อยู่ในช่วงสับสนและสิ้นหวัง และสุดท้ายคือจุดกลมกล่อม (Sweet Spot) ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะกับการพัฒนาศักยภาพของตัวเองมากที่สุด

4.การทำซ้ำ (Mastery) : การฝึกซ้ำเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังที่สุดสำหรับการพัฒนาทักษะ เพราะกระบวนการฝึกฝนและทำซ้ำบ่อยๆ จะกระตุ้นกลไกลตามธรรมชาติที่ทำให้สายส่งข้อมูลในสมองของเราทำงานได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ เพราะในสมองเราจะมีเยื่อหุ้มประสาทที่ชื่อว่า “ไมอีลิน” ซึ่งจะเติบโตตามสัญญาณประสาทที่ได้รับจากการฝึกฝน ทำซ้ำ ยิ่งทำมากขึ้น เยื่อไมอีลินจะหนาขึ้น ส่งผลให้ทักษะเหล่านั้นมีความแม่นยำมากขึ้น

5.ปลุกความจำด้วยกำปั้น : ผลวิจัยของนักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยมอนต์แคลร์สเตท รัฐนิวเจอร์ซี สหรัฐอเมริกา ระบุว่าการกำมือแน่นๆ ช่วยให้ความจำดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ความสามารถในการระลึกความทรงจำเก่าๆ กลับคืนมาได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย การทดลองนี้นักจิตวิทยาทดลองกับอาสาสมัครผู้ใหญ่จำนวน 50 คน ให้จดจำคำศัพท์จากลิสต์คำศัพท์จำนวนมากขณะที่ทดลองกำมือไปด้วยพบว่าการกำมือขวาเป็นเวลา 90 วินาทีจะช่วยให้การจดจำสิ่งใหม่ๆ ทำได้ดีขึ้น ในขณะที่การกำมือซ้ายด้วยเวลาเท่าๆ กันจะช่วยให้การเรียกคืนความทรงจำเก่าๆ ทำได้ดีขึ้น ผลการวิจัยชี้ว่าการเคลื่อนไหวร่างกายธรรมดาๆ เช่น  การกำมือขวาก่อนเรียนรู้ข้อมูลต่างๆ และการกำมือซ้ายก่อนจะเรียกคืนความทรงจำนั้นสามารถปรับปรุงระบบความทรงจำได้ โดยปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนการทำงานของสมองชั่วคราวด้วย

โอบ โอบนิธิ วิวรรธนวรางค์enconcept

Loading...